วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

  • เกิด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)ผลงาน - ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - เขียนหนังสือชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากการเดินทางสำรวจดินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิกของดาร์วิน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ ลักษณะสัตว์ และพืช รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ คือ การที่มนุษย์ได้ล่วงรู้ความลับทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการทั้ง ของสัตว์ และของพืช รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยดาร์วินกล่าวว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากลิง ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับมาจนทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าหากการเดินทางสำรวจโลกครั้งนั้นขาดนักธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่นามว่า ชาร์ล ดาร์วิน สาธารณชนอาจจะไม่มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวมหัศจรรย์เหล่านี้ได้เลย ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ(England) ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงมากที่สุดครอบครัวหนึ่งของอังกฤษบิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์เช่นเดียวกันแต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่น ยิงนก ตกปลา ไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆเพื่อการสะสม และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พฤติกรรมของดาร์วินสร้างความหนักใจให้กับบิดาของเขาอย่างมาก เนื่องจากเกรงว่าดาร์วินจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูลได้ ดังนั้นบิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์จนได้ ในปี ค.ศ. 1825 พ่อของดาร์วินได้ส่งเขาไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) พร้อมกับพี่ชายของเขา ดาร์วินต้องเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กอย่างเบื่อหน่าย ในระหว่างที่เขานั่นฟังบรรยายก็มักจะนั่งหลับไม่ก็เหม่อลอยมองออกไปนอกหน้าต่าง อีกทั้งเขายังกลัวการผ่าตัดศพอย่างมากอีกด้วย ทำให้ดาร์วินเรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้นก็ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อดาร์วินลาออกจากมหาวิทยาลัยเขาก็ออกเที่ยวเตร่และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการยิงนกตกปลา พ่อของดาร์วินรู้สึกเป็นห่วงลูกชายคนนี้มากเกรงว่าต่อไปภายหน้าจะลำบาก เพราะไม่มีความรู้พอที่จะประกอบอาชีพได้ ดังนั้นพ่อจึงส่งดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งดาร์วินก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ก่อนที่จะเรียนศาสนานั้นต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเสียก่อน การ์วินจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแหงนี้ เขาได้มีโอกาสเขาฟังการบรรยายวิชาธรรมชาติอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งดาร์วินยังได้ศึกษาหาความรู้ด้านนี้จากตำรา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน คือศาสตราจารย์เฮนสโลว์ (P.Henslow) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์เซดจ์วิค (P.Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยาทั้งสองได้พาดาร์วินออกสำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งดาร์วินก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดีดาร์วินสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1829 แต่ดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี และในระหว่างปีนี้เองทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ แต่ก่อนจะออกเดินทางกัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีผู้ใดสนใจเพราะนักธรรมชาติที่จะเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้เองทั้งหมดกัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหานักธรรมชาติวิทยาให้ศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน ซึ่งดาร์วินรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสออกสำรวจดินแดนที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยสำรวจมาก่อน อีกทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย เมื่อดาร์วินไปขออนุญาตด้วยความที่เป็นห่วงลูกชาย พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทางในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ดาร์วินรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังเพื่อเป็นการปรับทุกข์ ลุงสงสารเขามากจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้ เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาโดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ เป็นหมู่เกาะแรกซึ่งห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 ไมล์ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิล ที่เมืองเรซิเฟ (Recife) ซัลวาดอร์ (Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแฟซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เข้าสำรวจประเทศซิลี (Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำเรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island)ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape)จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก (Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดวเลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน อีกทั้งอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่เคยท้อแท้ จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia) ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อนที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะถึง 14 เกาะ ในจำนวนนี้มี 5 เกาะ เป็นเกาะขนาดใหญ่ซึ่งเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวมากถึง 45 ไมล์จากการสำรวจดาร์วินพบว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากหินลาวาของภูเขาไฟซึ่งบนเกาะแต่ละเกาะจะมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 3,000 - 4,000 ฟุต สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะกาลาปาโกลแห้งแล้งและกันดาร อีกทั้งมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษอาศัยอยู่ทั่วไปได้แก่ เต่าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 ปอนด์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระดองยาวประมาณ 7 ฟุต และมีอายุมากประมาณ 300 - 400 ปี ซึ่งเตาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่มาของชื่อเกาะกาลาปาโกส เพราะในภาษาสเปนกาลาปาโกสแปลว่าเต่ายักษ์ อีกอย่างหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับดาร์วิน คือ กิ้งก่ายักษ์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งมีขนาดลำตัวยาถึง 4 ฟุต ส่วนพืชบนเกาะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ส่วนไม่ยืนต้นก็มีอยู่บ้างและจำนวนน้อย การเดินทางของดาร์วินยังพบกับสิ่งแปลกประหลาดจำนวนมาก ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นให้กับดาร์วินแทบทั้งนั้น ดาร์วินได้จดบันทึกทุกเรื่องในการเดินทางครั้งนี้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ สภาพภูมิประเทศ อีกทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ ที่เขาได้พบทุกชนิด นอกจากนี้ดาร์วินยังได้เก็บซากพืช ซากสัตว์ เช่น แมลง เปลือกหอย และหิน ไว้เป็นจำนวนมาก บางส่วนดาร์วินได้ส่งมาเก็บไว้ที่บ้านพักในประเทศอังกฤษทางพัสดุไปรษณีย์ แต่บางชิ้นมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บมาได้ ดาร์วินจะวาดภาพไว้อย่างละเอียด โดยภาพที่เขาวาดจะมีสัดส่วนเหมือนจริงทุกประการ และเมืองดาร์วินเดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวาเขาได้พบกับพืชเขตร้อนเช่นเดียวกับที่พบที่เมืองปราเวีย คือ กล้วยหอม และมะพร้าว นอกจากนี้ดาร์วินยังได้พบกับแมลงปีกแข็งและเขาสามารถรวบรวพันธ์ของแมงมุมบนเกาะแห่งนี้ได้ถึง 13 พันธ์ นอกจากนี้แล้ว ดาร์วินยังได้พบกับนก และสัตว์แปลก ๆอีกหลายชนิด เรือบีเกิ้ลใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันนี้ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล และจากผลงานชิ้นนี้ ดาร์วินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม (Geological Society) ในปี ค.ศ. 1838 และต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ดาร์วินได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลเคนท์ (Kent) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน ในระหว่างที่เขาพำนักอยู่ที่นี่ดาร์วินได้ทำการศึกษาค้นคึว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่ม ชื่อว่า The Structure and Distribution of Coral Reef ต่อมาอีก 2 ปี ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่มชื่อว่าGeological Observations of South America และในปี ค.ศ. 1846 ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่ม ชื่อว่าGeological Observation on Volcanic Island หนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของดาร์วินในการสำรวจโลกกับเรือบีเกิ้ล หลังจากนั้นดาร์วินมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพรียง ซึ่งเขาเก็บมาจากชายฝั่งประเทศซิลี เมื่อครั้งที่เขาเดินทางนั่นเอง ดาร์วินได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเพรียงอย่างละเอียด โดยการผ่าตัดดูเพรียงทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตจากการศึกษาเพรียงดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเพรียงถึง 4 เล่ม จากเรื่องเพรียง ดาร์วินได้หันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยเขามีแรงบันดาลใจมาจากซากฟอสซิล (Fossil) ดาร์วินใช้เวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้นานกว่า 20 ปี เขารวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตดาร์วินศึกษาสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งคนม้า สุนัข และลิง เป็นต้น จากการ้นคว้าเขาสามารถสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการได้ว่าสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งมีชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งด้วย ซึ่งมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ คือเมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องปรับสภาพให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเพื่อชีวิตที่จะคงอยู่ต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนานจะเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางร่างกายและลักษณะนิสัย การวิวัฒนาการเช่นนี้ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)" นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ว่ามาจากลิง เมื่อหนังสือของดาร์วินได้รับการเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากพวกเคร่งศาสนาอย่างหนัก บางคนถึงกับว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกรีต แม้แต่กัปตันเรือบีเกิ้ลซึ่งทั้งสองเคยร่วมเดินทางสำรวจด้วยกันเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก็ได้ว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงเช่นกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าสร้างมา ซึ่งมีรูปแบบเช่นนี้มาตั้งแต่แรก แต่ต่อมาไม่นานนักคนเหล่านี้ก็ให้การยอมรับทฤษฎีข้อนี้ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ออกมา ดาร์วินพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับธรรมชาติออกมาอีกหลายเล่ม ได้แก่ - ค.ศ. 1862 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Fertilization of Orchids - ค.ศ. 1868 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Variation of Animal and Plants under Domestication - ค.ศ. 1871 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Descent of Man and Selection in Relation to Sea - ค.ศ. 1872 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Expression of the Emotion in Man and Animal - ค.ศ. 1875 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Effect of Cross and Self - Fertilization in the Vegetable Kingdom - ค.ศ. 1877 พิมพ์หนังสือชื่อว่า Different Forms of Flower and Plant of The Same Species - ค.ศ. 1880 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Power of Movement in Plants - ค.ศ. 1881 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Formation of Vegetable Mould Through The Action of Worms ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ผลงานของดาร์วินที่เขาได้ถ่ายทอดลงในหนังสือของเขา ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น