วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

My อนาคต

ตอนนี้กระผมกำลังศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ม.1/1

อนาคตของผม อยากเข้าโรงเรียน มหิดลวิทยานุสรณ์


ซึ่งโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในฝันของผมเลย เพราะโรงเรียนนี็เป็นโรงเรียนที่เข้ายากมากและเป็นโรงเรียนที่สอนดีนักเรียนที่จบออกไปก็มีงานทำที่ดีๆ

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระสวยอวกาศ






กระสวยอวกาศ คือ เครื่องบินอวกาศ มันทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มันมีปีกและตอนกลับสู่โลกมันจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแท้งค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็รับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร
เครื่องยนต์เหล่านี้ให้การผลักดันขั้นสุดท้ายแก่กระสวยอวกาศ และภายหลังการส่งกระสวยขึ้นไป 45 นาที การเผาไหม้ครั้งที่สองของเครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจร ทำให้ออร์บิเตอร์โคจรรอบ ๆ เหนือโลกเป็นระยะทาง 168 ไมล์ มันจะอยู่ในความสูงระดับนี้ในระหว่างการบินและบินในอัตรา 16,680 ไมล์ต่อชั่วโมง

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาแก้เคลียดกันเถอะ

ท่าทางน่าอร่อย


















คลิบขำขำ


คลิบรวมลื่น

About Me


I am Teeladon ananworapanya My nickname is DREAM

My address 165/12 M. 5 T. tarahat A. meang (เมือง)
I am study at Kanjanapisek Wittayalai school Suphanburi
I have one brother.
I am 12 year old.
I was born on tuesday 11 March 2540
E-mail : dream-sanook@hotmail.com
TEL. 087- 371909x

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาดูสัตว์แปลก


ฉลามยักษ์เมกาโลดอน (Megalodon Shark)
คลิบฉลามยักษ์

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รูดอล์ฟ ดีเซล : Rudolph Diesel


เกิด วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)เสียชีวิต ค.ศ.1913 ที่ลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)ผลงาน - ประดิษฐ์เครื่องยนต์แบบดีเซล ปัจจุบันเครื่องยนต์ประเภทอัดอากาศ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าเครื่องยนต์ดีเซล เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล เพราะทั้งประหยัดและมีประสิทธิภาพในการใช้งานดีมากชนิดหนึ่ง และผลงานชิ้นนี้ก็ได้เกิดจากความทุ่มเทของนักวิศวกรผู้หนึ่งที่ชื่อว่า รูดอล์ฟ ดีเซล
ดีเซลเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่อันที่จริงแล้ว เขาเป็นชาวเยอรมัน แต่บิดามารดาได้อพยพมาอยู่ที่ฝรั่งเศส ดีเซลเกิดมาในตระกูลที่มีฐานะดีพอสมควร ทำให้เขาได้รับการศึกษาทีดีมาก อีกทั้งเขาเป็นคนที่มีความ เฉลียวฉลาด สำหรับการศึกษาขึ้นต้นดีเซลได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปศึกษาที่โรงเรียน อาชีวศึกษาที่อ็อกซเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ดีเซลสามารถเรียนได้ดีมาก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเครื่องกลต่าง ๆหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษาด้วยผลการเรียนทีดีเยี่ยม ทำให้เขาได้รับทุนสำหรับศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี และในระหว่างนี้เองที่ทำให้เขารู้จักเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าที่ควร โดยเครื่องจักรไอน้ำนี้ประกอบไปด้วยเตาเผา หม้อน้ำ และปล่องไฟ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกันแล้วดูรุ่มร่ามและใช้การได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้พลังงานจำนวนมากสำหรับให้เครื่องทำงาน จากนั้นดีเซลก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเครื่องจักรไอน้ำเป็นอย่างมาก อีกทั้งเขายังต้องการที่จะพัฒนาปรับปรุงให้เครื่องกลชนิดนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีเซลเริ่มต้นการศึกษาเครื่องจักรไอน้ำอย่างละเอียดตั้งแต่ประวัติความเป็นมา วิธีการ จุดเด่น และข้อด้อยของเครื่องจักรไอน้ำ ดีเซลได้รับคำแนะนำความรู้เหล่านี้จาก ศาสตราจารย์คาร์ฟอน ลินเด อาจารย์ของเขานั่นเอง ซึ่งท่านได้ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว หลังจากที่ได้ทำการศึกษามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เขารู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งนี้ในข้อที่ว่า เมื่อลดความร้อนลงมาเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดพลังงานขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นผลจากความร้อนนั่นเอง ทำให้ดีเซลเกิดความคิดที่จะนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ในการเดินเครื่องจักรไอน้ำ และนี้คือแนวทางสำคัญในการพัฒนาเครื่องยนต์ของเขาในเวลาต่อมา หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี ดีเซลได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงปารีสและได้เข้าทำงานในโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งของลินเดในหลายตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ ตัวแทนซื้อขาย คนคุมงาน ประดิษฐ์ซ่อมเครื่องกล ผู้อำนวยการและที่ปรึกษา แม้ว่าเขาต้องทำงานอย่างหนัก และรับหน้าที่ในหลายตำแหน่ง แต่เขาก็ทำงานด้วยความตั้งใจ และแน่วแน่ว่าจะต้องทำงานเหล่านี้ให้ดีในทุกหน้าที่ที่เขารับผิดชอบ ทั้งด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกลินเดซึ่งเป็น ทั้งอาจารย์และนายจ้างของเขา ได้ชี้แจงแก่เขาว่าการทำงานภายในโรงงานแห่งนี้ ถือว่าเหมือนได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกทางวิศวกรรมศาสตร์เลยก็ว่าได้เพราะไม่ได้ฝึกทักษะทางด้านวิชาการเท่านั้น ยังได้ประสบการณ์ชีวิตจากด้านอื่นอีกด้วย อีกประการหนึ่งเขาต้องการสร้างเนื้อ สร้างตัวให้ได้เร็วที่สุด เพราะเขาได้แต่งงานกับหญิงชาวเยอรมันผู้หนึ่ง แต่ต้องแยกกันอยู่เพราะดีเซลไม่มีเงิน เพียงพอที่จะเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อลินเดเปิดโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งขึ้นในเมืองมิวนิค ดีเซลได้ขอลินเดให้เขาได้ย้ายไปทำงานที่นั่นทันที แต่ลินเดมีข้อแม้ว่า ห้ามไม่ให้ดีเซลยุ่งเกี่ยวกับเครื่องประกอบน้ำแข็งของลินเดอย่างเด็ดขาด แม้ว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีเซลต้องการแต่เขาก้รับปากลินเด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องประกอบน้ำแข็งเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าดีเซลจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องทำน้ำแข็งของลินเดเลย แต่เขาก็มีความคิดที่จะสร้างเครื่องกลชนิดอื่น ๆ และในระหว่างนี้เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร ดีเซลสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่องยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป ซึ่งเครื่องยนต์ของดีเซลก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับดีเซลมากที่สุดก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด โดยดีเซลเกิดความคิดมาจากขณะที่เขากำลังนั่งสังเกตการณ์เครื่องเปลี่ยนความร้อนเป็นพลังงานซึ่งใช้ในการเดินเครื่องยนต์ผลิตน้ำแข็ง เขาได้นำหลักการเดียวกันนี้มาปรับปรุง และใช้ในเครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่เขาเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาเขาได้นำเครื่องยนต์แบบอัดอากาศนี้ไปทำการทดลอง แต่ในครั้งแรกนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังเกิดระเบิดขึ้นอีกด้วยซึ่งเกือบทำให้เขาเสียชีวิต แม้ว่าการทดลองในครั้งแรกจะล้มเหลว แต่สิ่งที่เขาได้จากการทดลองในครั้งนี้ก็คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงดันอากาศที่ว่า "ความร้อนสามารถทำให้อากาศมีแรงดันเพียงพอสำหรับการจุดไฟให้ติดได้"ดีเซลยังคงพยายามประดิษฐ์เครื่องยนต์ของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการค้นหาสาเหตุระเบิดและหาทางแก้ไขปัญหานั้นได้และในที่สุดเครื่องยนต์เขาสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่เครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่ดีเซลได้ประดิษฐ์ขึ้น ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ผนังกระบอกสูบไม่แข็งแรงพอที่จะต่อความดันอากาศสูง ๆ ได้ ดังนั้นดีเซลจึงหันมาปรับปรุงการประดิษฐ์กระบอกสูบ โดยดีเซลได้ทดลองนำกระบอกสูบขนาดต่าง ๆ กันมาทำการทดลองเพื่อทดสอบแรงดัน และปริมาณที่ว่างระหว่างหัวสูบกับปลายกระบอกสูบ เครื่องยนต์ของดีเซลประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1897โดยเขาได้ใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 5 ปี ดีเซลได้ตั้งชื่อเครื่องยนต์ตามชื่อของเขาว่า ดีเซล ตามคำแนะนำของภรรยา เครื่องยนต์ที่ดีเซลเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นได้ใช้หลักการส่งเชื้อเพบิงจำนวนเพียงเล็กน้อยส่งเข้าไปในกระบอกสูบ จนกระทั่งน้ำมันที่ฉีดเข้าไปในกระบอกสูบ ระเหยเป็นไอออกมาจากรูกระบอก เพื่อใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ซึ่งลักษณะของเครื่องยนต์ดีเซลนี้เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานกล และด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลงถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ชนิดอื่น ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง ดีเซลได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อบริษัทแห่งนี้ว่าไรซิงเกอร์ไมเยอร์ และดีเซล บริษัทของเขาได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง แต่ในไม่ช้าดีเซลก็ต้องพบกับความเดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากในขณะนั้นกฎหมายเรื่องสิทธิบัตรยังมีความละหลวมอยู่มาก ทำให้ดีเซลต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากสำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องในสิทธิบัตรของเขาอีกทั้งสุขภาพของเขายังเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ เพราะความเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและทางใจจากการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิบัตรเครื่องยนต์ของเขาและต่อมาบริษัทของเขาก็ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง ในช่วงบั้นปลายชีวิตของดีเซล เขาต้องท้อแท้ใจอย่างมากเพราะสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างหนักมาตลอดระยะเวลาต้องล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่าดังนั้นในปี ค.ศ.1913 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และไม่ได้เดินทางกลับมาอีกเลย ซึ่งภายหลังมีข่าวว่าเขาได้หายไปในช่องแคบอังกฤษ แม้ว่าดีเซลจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้สร้างคุณประโยชน์ให้กับนักประดิษฐ์รุ่นหลังเป็น อย่างมากก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน

พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


บันทึกพิเศษ การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ
ในทัศนะของชาวต่างประเทศต่างก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ทั้งๆที่ยอมรับโดยสนิทใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงสามารถคำนวณและประกาศอย่างเป็นทางการไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะมีสุริยุปราคาหมดดวงเห็นได้ในประเทศไทยและกำหนดสถานที่ ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ริมฝั่งทะเลตรงข้ามเกาะจานไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้าด้วย สำหรับฝรั่งเศส-เดิมเลือกที่ช่องแคบมะละกา ต่อมาให้เปลี่ยนอีกตามคำแนะนำของกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยว่า ควรเป็นชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งทางฝรั่งเศสเองก็พยายามเที่ยวค้นหาที่จะดูหลายตำบล ตั้งแต่เมืองชุมพรขึ้นมาจนถึงเมืองปราณบุรีก็หาไม่ได้ ในที่สุดคณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสก็ขอพระบรมราชานุญาตมาตั้งโรงที่จะดูสุริยุปราคาในบริเวณค่ายหลวงตำบลหว้ากอ ต่ำลงไปทางใต้พลับพลาค่ายหลวงประมาณ 18 เส้น จึงประสบความสำเร็จด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้
การเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนสิงหาคม 2411 นั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ 1.ในห้วงเวลานั้นเป็นฤดูฝน พื้นภูมิประเทศเป็นป่าเขามีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางก็ลำบากและต้องฟันฝ่าอันตรายมากเหตุใดจึงทรงมีพระราชอุตสาหะแรงกล้าถึงเพียงนั้น ก็เป็นเพราะว่าสุริยุปราคาที่จะเห็นได้หมดวงในประเทศไทยนี้ยังไม่เคยมีมาแต่ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบเป็นพระองค์แรกในประเทศหรือในโลกก็ได้ว่า จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยได้ทรงคำนวณสอบสวนกับตำราสารัมภ์ ไทย มอญ และของอังกฤษอเมริกันแล้วเป็นที่แน่ชัดจึงได้ทรงประกาศเป็นทางการล่วงหน้าก่อนถึง 2 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์มิได้ทรงเกรงความยากลำบากและอันตรายใดๆที่จะเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเพื่อทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เอง 2. การเตรียมสถานที่และเตรียมการด้านต่างๆนับเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงถึงความละเอียดรอบครอบและการที่ทรงมีวิจารณญาณ เห็นการณ์ไกลเกี่ยวกับเกียรติภูมิและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้เป็นแม่กองไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรม ณ ตำบลหว้ากอ ตรงหน้าเกาะจานเข้าไปห่างจากคลองวาฬลงไปทางใต้ประมาณ 24 เส้น โดยให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายทำการก่อสร้างค่ายหลวงพลับพลาที่ประทับและทำเนียบรับรองแขกเมือง สถานที่บริเวณก่อสร้างอยู่ริมหาด ซึ่งเป็นป่าไม้อยู่ก่อนแล้วมาแผ้วโก่นโค่นสร้างในคราวนี้ แล้วปลูกพลับพลาและทำเนียบเป็นอันมากสำหรับข้าราชการต่างๆในราชสำนักและแขกเมืองชาวยุโรปพักอาศัย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประทับในค่ายหลวงตำหนักที่ประทับทำด้วยไม้ชั่วคราว เป็นตำหนัก 3 ชั้นทำเนียบแห่งอื่นปลูกเป็นเรือนชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 3 ฟุตทุกหลังทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้างใบตาลแห้งบ้าง ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อย ล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็น และในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้ และบริวารเป็นอันมาก ท้องพระโรงยาวประมาณ 80 ฟุต กว้าง 80 ฟุต อยู่ด้านตะวันออกของพลับพลาที่ประทับแรม มีพระทวารสองข้าง กับทั้งมีพระทวารที่ตรงกลางทางด้านยาว ซึ่งเป็นทางที่เข้าไปได้อีกช่วงหนึ่ง ที่ประทับยกพื้นสูงราว 3 ฟุต อยู่ใกล้ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้าไปข้างในพลับพลาที่ยกพื้นกับรั้วลูกกรงทั้งเสาและผนังห้องท้องพระโรงดาดด้วยผ้าสีแดง มีพระเก้าอี้ตั้งอยู่บนราชบัลลังก์มีโต๊ะเล็กอยู่ทางขวา เต็มไปด้วยหีบทองและภาชนะบรรจุพระศรีพระโอสถ พระสุธารสและสิ่งของเครื่องราชูปโภคต่างๆ ทางในระหว่างพระทวาร และที่ประทับกันไว้เป็นช่องระหว่างสำหรับแขกเมืองเฝ้า และลองข้างช่วงนี้ในระยะประมาณครึ่งทาง เป็นที่ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้า ทำเนียบของแขกฝรั่งยาวประมาณ 140 ฟุต กว้าง 50 ฟุต เป็น 2 หลังโดด หลังใหญ่มีห้องโถงอยู่กับพื้น สามารถจุคนในเวลาเลี้ยงได้ 40-50 คน และสองข้างยกพื้นสูงประมาณ 3 ฟุต ทำเป็นห้องเล็กๆเป็นแถวรวม 12 ห้อง สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพวกผู้ว่าราชการ มุมสุดเป็นสถานที่เล็กๆหลังหนึ่ง มีห้องนอน 2 ห้อง ห้องแต่งตัว 2 ห้อง มีระเบียงเป็นห้องนั่งเล่น สำหรับ แขกได้สบาย เรือนตอนนี้ตีฝาและยกพื้นด้วยไม้จริง นอกนั้นทำด้วยไม้ไผ่ซีกทั้งสิ้น ด้านอาหาร มีผู้ว่าราชการ พระฤาษีสมบัติบริบูรณ์กับพ่อครัวจีน และข้าราชการรับหน้าที่จัดดูแลเรื่องอาหารเลี้ยงแขกเมืองและแขกฝรั่งทั้งหมดที่อยู่ในกรุงเทพ และที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับเชิญไปดูสุริยุปราคา และโปรพระราชทานเลี้ยงอาหารฝรั่งตลอด โดยพ่อครัวฝรั่งเศสพร้อมด้วยชาวอิตาลี 1 คน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน การเลี้ยงดู ก็จัดอย่างบริบูรณ์และประณีต บรรดาของอร่อยที่จะสามารถหามาได้จากประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ กรุงเทพรวมทั้งเหล้า และเหล้าองุ่นต่างๆ น้ำแข็งก็มีบริบูรณ์ แขกฝรั่งพากันกล่าวว่า นับเป็นที่พักอาศัยอันอุดมที่สุดในป่าแห่งประเทศสยามทีเดียว 3. เครื่องมือและกล้องส่องดูดาว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมอร์ซิเออร์ สเตฟาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งเครื่องดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ มีความเห็นว่า กล้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีคุณภาพดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าวิเศษสำหรับประเทศสยาม พระองค์ทรงสนพระทัยยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ และพระองค์ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงรอบรู้วิชาวิทยาศาสตร์ลึกซึ้งเพียงใด แต่ พระองค์ ทรงถ่อมพระองค์มาก การเสด็จมาหว้ากอครั้งนี้ก็เพราะแรงผลักดันที่จะได้ทรงพิสูจน์การศึกษาแนวทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์เป็นประการหนึ่ง 4. การที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญ เซอร์ แฮรี่ ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษซึ่งประจำอยู่ ณ เมืองสิงคโปร์ และภริยามาเป็นอาคันตุกะส่วนพระองค์ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส เข้ามาตั้งกล้องส่องดูดาวร่วมด้วยได้ที่ตำบลหว้ากอ โดยมีเครื่องกล้องใหญ่น้อยหลายอย่างที่ทันสมัย ประมาณ 50 อันเศษ นับเป็นวิเทโศบายอันชาญฉลาดที่ได้ทรงสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรียิ่งโดยเฉพาะได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนบธรรมเนียมเก่าที่ฝรั่งเห็นว่าเป็นเครื่องถ่วงความเจริญ ซึ่ง เซอร์ แฮรี่ ออด มีข้อสังเกตว่าในพระราชสำนักได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มิเคยปรากฏมาแต่ก่อนเช่น การเปิดพระราชมนเทียรพระราชทานให้แขกเมืองเข้าไปได้ไม่หวงห้าม โปรดให้พบปะกับฝ่ายในให้ออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายในราชสกุลที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองได้อย่างฉันมิตรสนิทสนม พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์ สมาคมกับแขกเมืองอย่าง ยอมให้อิสระเท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งฝรั่งเห็นว่าเป็นประเทศหนึ่ง ในชนชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เหตุการณ์ที่ฝรั่งได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองนี้ ทำให้ชาวฝรั่งเกิดความประทับใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยมีทางจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีนโยบายปิดประตู และมีการสมาคมกับชาวฝรั่งอย่างมีเกียรติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงศึกษาเครื่องมือและกล้องส่องดูดาว ตลอดจนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยของอังกฤษ และฝรั่งเศสพร้อมกันไป นับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนา วิชาวิทยาศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปด้วย คณะกรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เพียรพยายามที่จะหาหลักฐานต่าง ๆ เพื่อจะชี้ให้เห็นชัดเป็นข้อยุติ ว่า ณ ที่ใดที่บ้านหว้ากอ (ในปัจจุบันนี้) เป็นที่ตั้งค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรมที่ทรงกล้องทอดพระเนตรสุริยุปราคาจึงได้ ออกกันไปศึกษาสภาพพื้นที่ 2-3 ครั้ง ครั้งหลังเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2524 คณะที่ออกไปสำรวจร่วมกับทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เท่าที่จำได้มี ดร. ระวี ภาวิไล ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา ดร. ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ ดร. ขาว เหมือนวงศ์ ดร. ธีระชัย ปูรณโชติ คุณระรินทิพย์ ทรรทานนท์ ทางจังหวัดประจวบ ฯ ก็มี ข้าพเจ้าผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษา ธิการจังหวัดนายอำเภอเมือง เป็นต้น ดังปรากฏในภาพ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศประกอบ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ชัดเจนนัก เพราะยังหาหลักฐานสำคัญ ๆ ไม่พบ แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าเป็นบริเวณนั้น ๆ ซึ่งก็ใกล้เคียงมาก และทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเรื่องหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการสร้างสวนสาธารณะ หรือสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ รวมในที่เดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปลายปี 2525 นี้

เจมส์ วัตต์ : James Watt


เกิด วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1735 ที่เมืองกรีนน็อค (Greenox) ประเทศอังกฤษ (England)เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1819 ที่ประเทศอังกฤษ (England)ผลงาน - พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น - บัญญัติศัพท์คำว่า แรงม้า (horse power)
เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนามของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้วงการอุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้า วัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจนพ่อของเขาชื่อว่า โทมัส วัตต์ (Thomas Watt) เป็นช่างไม้และดำเนินกิจการเกี่ยวกับไม่ทุกชนิด ซึ่งทำให้วัตต์ไม่ได้รับการศึกษามากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งความฉลาดและมักชอบเรียนรู้ในสิ่งแปลก ๆ อยู่เสมอ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องชาวไม้ที่เขาได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อของเขาด้วย เขายังเคยช่วยงานในร้านของบิดาอยู่ระยะหนึ่งทำให้เขามีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดี เขาทำงานอยู่กับบิดาได้ไม่นานเขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตที่จำเจซ้ำซาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1754 ขณะที่เขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เดินทางไปยังเมืองกลาสโกว ์(Grassgrow) เพื่อหางานทำในที่สุดเขาก็ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่งส่วนเวลาช่วงเย็นหลังจากเลิกงานเขาได้ไปเรียนต่อทำให้สุขภาพเขาอ่อนแอลงอย่างมาก เพราะกลางวันต้องทำงาน ส่วนกลางคืนก็ต้องเรียนอีก ทำให้เขาต้องลาออกจากงาน และเดินทางไปยังกรุงลอนดอน เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างจริงจัง วัตต์ได้สมัครเข้าเรียนเกี่ยวกับการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในระหว่างที่วัตต์อยู่ที่กรุงลอนดอน ได้เกิดสงครามยุโรปขึ้น รัฐบาลมีคำสั่งให้เกณฑ์ชายหนุ่มข้าฝึกทหาร แต่วัตต์ไม่ชอบเป็นทหาร จึงได้เดินทางกลับไปที่เมืองกรีนน็อคอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1756 เขามาถึงบ้านเขาต้องการจะเปิดร้านรับซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ แต่เขาขาดคุณสมบัติ เนื่องจากกฎหมายของเมืองนี้ผู้ที่จะประกอบการค้าได้นั้นต้องจะทะเบียนกับสมาคมพ่อค้า ซึ่งผู้ที่จะสามารถจดทะเบียนได้ต้องเป็นบุตรของพ่อค้า หรือต้องเคยทำงานในร้านค้ามาก่อน ทำให้วัตต์ต้องหางานอย่างอื่นทำ ในที่สุดวัตต์ก็ได้งานทำในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องมือในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ โดยได้รับค่าจ้างปีละ 35 ปอนด์ วันหนึ่งเครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งานได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยและจากเหตุนี้เองทำให้วัตต์มีความคิดที่จะสร้างเครื่องจักรไอน้ำ ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าของนิวโคแมนที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งทำงานก็ล่าช้า ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค (John Roebuck) วัตต์ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำโดยนำเครื่องยนต์ทั้งหมดมาใส่ไว้ใน โลหะทรงกระบอกเพื่อทำให้เครื่องจักรมีขนาดเล็กลง แล้วต่อท่อให้ไอน้ำเข้าในในเครื่องจักรโดยตรง ซึ่งไอน้ำจะเข้าไปดันลูกปืน เพื่อให้เครื่องทำงาน ในระยะแรกเครื่องจักรไอน้ำชนิดนี้ยังมีปัญหา เพราะเมื่อไอน้ำกลายเป็นน้ำ จะทำให้ไอน้ำที่ส่งเข้าไปใหม่ กลายเป็นหยดน้ำไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ผลไม่เต็มที่ หรือไม่ก็หยุดทำงานไปเลยทำให้โรบัคไม่สนับสนุนเงินทุนให้เขา เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าวัตต์จะประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากแมทธิว โบลตัน (Mathew Bolton) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม วัตต์หาวิธีแก้ปัญหาอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดเขาก็สามารถแก้ปัญหาได้ในปี ค.ศ.1776 วิธีแก้ปัญหาของเขา คือ การต่อท่อที่ให้ไอน้ำเข้าไปใหม่แยกออกมาต่างหาก สร้างท่อที่ให้ไอน้ำออกมาและกลายเป็นหยดน้ำอีกท่อหนึ่งซึ่งทำให้เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าวัตต์จะไม่ใช่บุคคลแรกที่สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จแต่เครื่องจักรไอน้ำของ วัตต์ก็มีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมมากกว่า เมื่อวัตต์สามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เขาได้นำผลงานของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและร่วมมือกับโบลตันผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกจำหน่าย เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์เป็นที่นิยม อีกทั้งทำให้วงการอุตสาหกรรมทั้งในยุโรป และสหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรของวัตต์ยังเป็นต้นแบบของ เครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบันอีกด้วย วัตต์ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้น เขายังประดิษฐ์เครื่องมืออีกหลายชนิดในปี ค.ศ. 1784 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยตีเหล็กและในปี ค.ศ.1785 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย วัตต์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้วงการอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น