วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กาลิเลโอ กาลิเลอี : Galileo Galilei

  • เกิด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา (Pisa) ประเทศอิตาลี (Italy)เสียชีวิต วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี (Italy)ผลงาน - ค.ศ. 1584 ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่างของนาฬิกาลูกตุ้ม - ค.ศ. 1585 ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Kydrostatic Balance และ Centre of Gravity - ค.ศ. 1591 พิสูจน์ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาว่าผิด อันที่จริงวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอ - พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่องดูดาวบนจักรวาลได้ - พบลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์ - พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ - พบทางช้างเผือก (Milky Way) - พบบริวารของดาวพฤหัสบดี ว่ามีมากถึง 4 ดวง - พบวงแหวนของดาวเสาร์ ซึ่งปากฎว่ามีสีถึง 3 สี - พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ - พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) - พบดาวหาง 3 ดวง
    กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยเฉพาะผลงานด้านดาราศาสตร์เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด การทดลองและการค้นพบของเขามีประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ เช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ พบบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น การพบลักษณะการแกว่งของวัตถุซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องจับเวลา และนาฬิกาลูกตุ้ม อีกทั้งการที่เขาสามารถพัฒนาสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งเขายังเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญอย่างมากในการเสนอแนวความคิด ต่าง ๆ เกี่ยวกับทฤษฎีดั้งเดิมที่ผิดของอาริสโตเติล ซึ่งนำความเดือดร้อนมาให้กับเขาเอง ทั้งการถูกต้องขังและถูก กล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตต่อต้านคำสั่งสอนทางศาสนา ซึ่งเกือบจะต้องเสียชีวิตถ้าเขาไม่ยอมรับความผิดอันนี้ แม้ว่าเขาจะต้อง ยอมรับผิด แต่เขาก็ไม่หยุดทำการค้นคว้าและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไป กาลิเลโอมักมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่นเสมอ เขาจะไม่ยอมเชื่อทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาทั้งในอดีตและในยุคนั้น กาลิเลโอต้องทำการทดลอง เสียก่อนที่จะเชื่อถือในทฤษฎีข้อนั้น และด้วยนิสัยเช่นนี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า The Wrangler ฉายาของกาลิเลโออันนี้ในปัจจุบัน ได้ใช้หมายถึง "ผู้เชี่ยวชาญ" ในมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (Oxford University) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์(Cambridge University) กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรีและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลอี (Vincenzio Galilei) กาลิเลโอเข้ารับการศึกษา ขั้นต้นที่เมืองปิซานั่นเอง กาลิเลโอเป็นนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ เล่นดนตรี และคณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ด้วยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง กาลิเลโอได้ปฏิบัติตามที่บิดาต้องการ คือ เข้าเรียนในวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา (Pisa University) แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่างไปแกว่างมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่าการแกว่งไปมาของโคมในแต่ละรอบใช้เวลา เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์ ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่าไม่ว่าโคมจะแกว่งในลักษณะใดก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการแกว่งไปและกลับครบ 1 รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤษฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่ากฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือ กฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจากการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลาซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮฮยเกนส์ (Christian Huygens) ได้นำทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Centre of Gravity เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่มที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต แห่งเปซาโร(Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปี ค.ศ. 1591 ระหว่างที่กาลิเลโอเข้าทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้นำทฤษฎีของอาริสโตเติล มาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้ คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา แต่เมื่อกาลิเลโอทดลองแล้วปรากฏว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล สรุปทฤษฎีเช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศได้ช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฏว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน โดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก้อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ก้อนตกถึงพื้นพร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของ อาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งหาทางกลั่นแกล้งจนกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา หลังจากที่กาลิเลโอลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ปาดัว (Padua University) ในระหว่างนี้กาลิเลโอได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ ทำการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกของวัตถุ ซึ่งเขาพบว่าในระหว่างที่วัตถุตกลงสู่พื้นนั้น ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นทุกวินาที การทดลองนี้ทางการทหารได้นำไปใช้ในการคำนวณหาเป้าหมายของลูกปืนใหญ่ หลักเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ของวัตถุนี้ทำให้ เกิดวิชาที่เรียกว่า "พลศาสตร์ (Dynamic)" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากลศาสตร์ กาลิเลโอมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์อย่างมาก แต่ไม่สามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1608 มีข่าวว่าช่างทำแว่นตาชาวฮอลแลนด์ สามารถประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขนาดเล็กได้เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอจึงนำหลักเกณฑ์เดียวดันนี้มาสร้างเป็นกล้องโทรทรรศน์ขึ้นเป็นครั้งแรกแต่กล้องโทรทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในครั้งแรกมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า เท่านั้น ต่อมาเขาได้ปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำลังขยายมากถึง 32 เท่า ซึ่งกล้องอันนี้สามารถส่องดูดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาลได้อย่างชัดเจน สิ่งที่กาลิเลโอได้พบเห็นจากกล้องโทรทรรศน์ เขาได้บันทึกลงในหนังสือเล่มหนึ่ง และตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อหนังสือว่า SederieusNuncius หมายถึง ผู้นำสารจากดวงดาว ภายในหนังสือเรื่องนี้มีรายละเอียดดังนี้ - ผิวของดวงจันทร์ ซึ่งปรากฏว่าไม่เรียบเหมือนอย่างที่มองเห็น แต่มีหลุม หุบเหว และภูเขาใหญ่น้อย จำนวนมาก - พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น โลก ดาวพุธ และดวงจันทร์ เป็นต้น และดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ เป็นต้น - พบทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งมีลักษณะเป็นทางขาว ๆ ดูคล้ายหมอกบาง ๆ พาดผ่านไปบนท้องฟ้า ทางช้างเผือก เกิดจากแสงของกลุ่มดาวฤกษ์ซึ่งมีความหนาแน่นมาก - เนบิวลา (Nebula) คือ กลุ่มก๊าซ และวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่น - พบวงแหวนของดาวเสาร์ แต่กาลิเลโอไม่ได้เรียกว่าวงแหวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1655 ฮอยเกนส์ได้พิสูจน์ว่าเป็นวงแหวน และเรียกว่า "วงแหวนของดาวเสาร์ (Saturn's Ring)" - พบบริวารของดาวพฤหัสบดีว่ามีมากถึง 4 ดวง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีว่า ซีเดรา เมดิซี (Sidera Medicea) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดยุคแห่งทัสคานี คอซิโมที่ 2 (Duke of Tuscany Cosimo II) ผู้ซึ่งเป็นทั้งลูกศิษย์ และเจ้านายของเขาในเวลาต่อมา และจากการค้นพบครั้งนี้ กาลิเลโอได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการโคจรของโลกรอบดวง อาทิตย์ และภายหลังจากการศึกษา กาลิเลโอได้ตั้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล และโลกต้องโคจร รอบดวงอาทิตย์ - พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ - พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) จากการค้นพบครั้งนี้กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Letter on the Solar Spot ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ว่าอันที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของสุริยจักรวาล อีกทั้งโลกและดาวดวงอื่น ๆ ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอครั้งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีนั้นก็คือทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง อีกทั้งชื่อเสียงของ กาลิเลโอก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น เขาได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของท่านแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี (Grand Duke of Tuscany) ส่วนข้อเสียเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายอย่างมากต่อกาลิเลโอ คือ ทฤษฎีของกาลิเลโอขัดแย้งกับหลักศาสนา และทฤษฎีของอาริสโตเติลที่มีผู้เชื่อถือมากในขณะนั้น แม้ว่ากาลิเลโอจะนำกล้องโทรทรรศน์มาตั้งให้ทุกคน ได้ทดลองส่องดู ซึ่งทุกคนก็เห็นเช่นเดียวกับที่กาลิเลโอบอกไว้ แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่มีความเชื่อถือในทฤษฎีของอาริสโตเติล ก็ยังไม่เห็นด้วยกับกาลิเลโอ และกล่าวหากาลิเลโอว่าต่อต้านศาสนา ทำให้กาลิเลโอได้รับคำสั่งจากศาสนจักรให้หยุดแสดง ความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อหลักศาสนา หลังจากนั้นกาลิเลโอได้เดินทางไปยังเมืองฟลอเรนซ์ และอยู่ที่นี่เป็นเวลานานถึง 7 ปี และในระหว่างนี้ เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1618 กาลิเลโอได้พบดาวหางถึง 3 ดวง และได้พบความจริง เกี่ยวกับดาวหางที่ว่า ดาวหางเป็นดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งเช่นกัน แสงที่เกิดนี้เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ กาลิเลโอได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ลงในหนังสือชื่อว่า Saggiatore แต่ทฤษฎีข้อนี้ของกาลิเลโอ ผิดพลาด ใน ปี ค.ศ. 1632 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialogo Del Due Massimi Sistemi Del Mondoแต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อความที่ต่อต้านกับหลักศาสนา กาลิเลโอจึงเขียนขึ้นในเชิงบทละคร ซึ่งมีตัวเอกด 2 ตัว สนทนา เกี่ยวกับทฤษฎีของปโตเลมี และโคเปอร์นิคัส แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอยู่ดี ทำให้เขาถูกต่อต้านอย่างหนักอีกทั้งหนังสือเล่มนี้ก็ถูกห้ามมิให้จำหน่ายในประเทศอิตาลีอีกด้วย ส่วนตัวเขาถูกสอบสวนและต้องโทษจำคุกเพื่อให้สำนึกบาปที่ คัดค้านคำสอนในคริสต์ศาสนา ต่อมาเขาถูกบังคับให้กล่าวคำขอโทษ เพื่อแลกกับอิสระและชีวิตของเขา แม้ว่าเขาจะถูกปล่อยตัวออกจากคุก แต่เขาก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของอัสคานิโอ ปิคโคโรมินิ (Ascanio Piccoromini) บาทหลวงผู้หนึ่งซึ่งในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับฟิสิกส์ และตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Disorsi เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเขามีอุปสรรค เขาจึงหันมาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แทน กาลิเลโอได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นหลายชิ้น ได้แก่ นาฬิกาน้ำ ไม้บรรทัด และเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1636 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialoghi Della Nuove Scienze แต่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1638 โดยเอสเซฟเวียร์ (Elzavirs) ที่เมืองเลย์เดน (Leyden) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไปกลับได้รับความนิยมมากกว่าหนังสือดาราศาสตร์ของเขา อีกทั้งไม่ถูกต่อต้านจากศาสนาจักรอีกด้วย ในช่วงสุดท้ายของชีวิต กาลิเลโอได้ค้นคว้า และเฝ้ามองดูการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ด้วย กาลิเลโอได้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์จนพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ ครั้งสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นประมาณ 2 - 3 เดือน เขาก็ตาบอดและสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความชรา และเสีย ชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

อาริสโตเติล : Aristotle

  • เกิด 384 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองสตากิรา แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) ประเทศกรีซ (Greece)เสียชีวิต 322 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองคาลซิล (Chalcis)ผลงาน - ทฤษฎีเกี่ยวกับสัตว์ โดยเขาแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ชนิด คือ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง - ทฤษฎีสลับกันของพื้นดินและแผ่นน้ำ
  • อาริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ เขาเป็นศิษย์เอกของเพลโต (Plato) นักปราชญ์คนสำคัญ คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และเป็นอาจารย์ของกษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่งของกรีก คือ อาเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexanderthe Great) อาริสโตเติลเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งทฤษฎีที่สำคัญต่าง ๆ ไว้มากมาย ถึงแม้ว่าทฤษฎีบางบทของเขาเมื่อนำมาทดสอบเพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้อง ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด แต่นั้นก็เป็นเพียงทฤษฎีส่วนหนึ่งของอาริสโตเติล ยังมีทฤษฎีอีกมากมายที่ถูกต้อง และยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งเขาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกับสัตว์ ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง อาริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก เกิดที่เมืองสตากิรา (Stagira) แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) ประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 384 ก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางที่มั่งคั่ง บิดาของเขาชื่อว่า นิโคมาคัส (Nicomacus) เป็นแพทย์ประจำราชสำนักของพระเจ้าอามินตัสที่ 2 (King Amyntas II) อาริสโตเติลได้รับการถ่ายทอดความรู้ส่วนใหญ่มาจากพ่อของเขาซึ่งเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา ต่อมาเมื่ออาริสโตเติลอายุได้ 18 ปี ได้เข้าเรียนในสำนักอะเคดามี (Academy) ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยเพลโต นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง อาริสโตเติลเป็นคนเฉลียวฉลาด รักการอ่านและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอ่านหนังสือ ทำให้เขามีความรู้ดีมาก และด้วยเหตุนี้เพลโตจึงโปรดปรานเขาเป็นพิเศษกว่าศิษย์คนอื่น อาริสโตเติลศึกษาอยู่ ในสำนักอะเคดามี จนจบการศึกษา แต่หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาก็ยังทำงานอยู่กับเพลโต จนกระทั่งเพลโตเสียชีวิต ในปี 347 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นอาริสโตเติลได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่แคว้นมาซีโดเนีย ความรู้ความสามารถของอาริสโตเติลโด่งดังไปตามเมืองต่าง ๆ ดังนั้นเขาจึงได้รับการติดต่อจากราชสำนักของพระเจ้าฟิลิปแห่งมาซีโดเนีย (King Philip of Macedonia) ให้ไปเป็นอาจารย์ของอาเล็กซานเดอร์ (Alexander) พระราชโอรสของพระเจ้าฟิลิป ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา เท่านั้น เพราะเชื่อถือในความสามารถที่มีอยู่มากมายหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ชีววิทยา ตรรกศาสตร์ และจริยธรรมเป็นต้น เมื่อพระเจ้าฟิลิปสิ้นพระชนม์ อาริสโตเติลได้ลาออกจากราชสำนัก แม้ว่าเขาจะลาออก แต่ก็ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่พระเจ้าอาเล็กซานเดอร์อยู่ อาริสโตเติลได้เดินทางไปกรุงเอเธนส์ เพื่อเปิดโรงเรียนโดยได้รับการสนับสนุนเรื่องเงินทุนในการสร้างโรงเรียน และทุนในการทดลองค้นคว้าจากพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์ โรงเรียนของอาริสโตเติลมีชื่อว่า Peripatetic School ในสำนักไลเซียม (Lyceum) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น อาริสโตเติลตั้งชื่อโรงเรียนเช่นนั้นก็เพราะคำว่า Peri แปลว่า เดิน อันหมายถึงวิธีการสอนในโรงเรียนแห่งนี้ คือ อาริสโตเติลจะเดินไปเดินมาในสวน เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซักถาม และวิชาที่เน้นมากที่สุด ก็คือวิชาปรัชญาธรรมชาติ เนื่องจากอาริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่มีความรู้หลายด้าน เช่น ปรัชญา ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ สัตววิทยา ชีววิทยา การเมืองเศรษฐศาสตร์ และตรรกศาสตร์ เป็นต้น เขาได้รวบรวมความรู้และประสบการณ์การเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในยุโรป และเอเซีย เขียนเป็นหนังสือมากมายกว่า 1,000 เล่ม หนังสือของเขาได้แยกความรู้ออกเป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการค้นคว้า และอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งหนังสือของอาริสโตเติลมีลักษณะคล้ายกับสารานุกรม จึงถือได้ว่าเป็นสารานุกรมเล่มแรกของโลกก็ว่าได้ ทฤษฎีที่อาริสโตเติลตั้งขึ้นนั้น เขาได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ ที่เขามีอยู่ มาตั้งเป็นทฤษฎี จากนั้นก็หาเหตุผลมาประกอบทฤษฎีที่เขาตั้งตามหลักตรรกวิทยา โดยไม่ได้ทดสอบจากความเป็นจริง ทำให้ทฤษฎีของเขามีข้อผิดพลาดอยู่มาก แต่ทฤษฎีของเขาก็มีผู้เชื่อถืออยู่มากเช่นกัน และมีอิทธิพลต่อแนวความคิดได้ยาวนานกว่า 1,500 ปี ด้วยทฤษฎีของเขาได้พ้องกับหลักศาสนาคริสต์ ทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ต่างก็เชื่อถือในทฤษฎีของเขาไปด้วย เมื่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังอย่างนิโคลัส โคเปอร์นิคัส และกาลิเลโอ ได้นำทฤษฎีของอาริสโตเติลมาพิสูจน์และพบข้อผิดพลาด ก็ต้องเผชิญหน้าและต่อสู้กับกลุ่ม คนที่ยึดถือทฤษฎีของอาริสโตเติล ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่พิสูจน์แล้วว่าผิดมีหลายทฤษฎีด้วยกัน เช่น ัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่าย่อมตกลงถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบากว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และสารต่าง ๆ ในโลกประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และมีสมบัติเบื้องต้นอยู่เพียง 4 ประการ เท่านั้น คือ ร้อน เย็น ชื้น และแห้ง โดยกำหนดว่า ไฟ คือ ร้อนกับแห้ง ดิน คือ แห้งกับเย็น น้ำ คือ ความเย็นกับชื้น ลม คือ ความร้อนกับความชื้น นอกจากนี้เขาได้อธิบายถึงต้นกำเนิดของแมลงว่า มีต้นกำเนิดมาจากน้ำค้าง ส่วนตัวหมัด ตัวไร ก็มีต้นกำหนดมาจากสารที่เนาเปื่อย เป็นต้น ทฤษฎีที่ผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งของเขาก็คือ ทฤษฎีของเบาที่ตกถึงพื้นก่อนของหนัก ที่เมื่อกาลิเลโอ (Galileo) นักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอิตาลี นำไปพิสูจน์และพบว่าวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอไม่ว่าจะมีน้ำหนักหรือรูปร่างต่างกัน ถ้าตกลงมาจากที่สูงเท่ากัน และในเวลาเดียวกัน การที่อาริสโตเติลเข้าใจว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า เนื่องจากเขาเห็นว่าก้อนหินตกถึงพื้นก่อนขนนก แต่การที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะอากาศช่วยพยุงไม่ให้ขนนกตกลงถึงพื้นได้เร็วนั่นเองแม้ว่าจะมี นักวิทยาศาสตร์บางท่านกล่าวหาว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ทำให้วิทยาศาสตร์ต้องชะงักไป อีกทั้งยังกล่าวว่าหนังสือที่อาริสโตเติลเขียนขึ้นมาทำให้ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ต้องถอยหลังไปอีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลจะผิดพลาดไปทั้งหมด โดยเฉพาะวิชาการด้านชีววิทยา เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสัตววิทยา เนื่องจากเขาเป็นบุคคลแรกในการแบ่งประเภทของสัตว์ นับว่า เป็นทฤษฎีที่มีค่าที่สุดก็ว่าได้ ในระหว่างที่เขาทำงานในราชสำนักของพระเจ้าฟิลิป อาริสโตเติลได้ใช้เวลาศึกษาอยู่นานถึง 2 ปี บนเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนที่จะกลับไปรับตำแหน่งอาจารย์ของอาเล็กซานเดอร์ อาริสโตเติลได้เฝ้าสังเกต ศึกษา และบันทึกการดำรงชีวิตของสัตว์ตั้งแต่อยู่ในไข่ เมื่อออกจากไข่ ระยะเวลาในการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นอกจากนี้เขายังผ่าตัดเพื่อศึกษาลักษณะภายในของสัตว์เหล่านี้ด้วย หลังจากที่เขาศึกษามาเป็นระยะเวลาพอสมควร อาริสโตเติลได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ เลือดสีแดง เช่น คน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) มีลักษณะเด่น คือ มีเลือดอื่นที่ไม่ใช่สีแดง เช่น กุ้งปู ปลาดาว แมลง และหอย เป็นต้น ซึ่งนับว่าการศึกษาของอาริสโตเติลในเรื่องนี้ถือว่าเป็นการบุกเบิกวิชาชีววิทยาเลยทีเดียว และทฤษฎีที่สำคัญอีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ การสลับกันของพื้นดินและแผ่นน้ำ อาริสโตเติลได้อธิบายว่า พื้นน้ำบางแห่งเกิดจากการสะสมของดินตะกอนทำให้เกิดเป็นพื้นดิน และพื้นดินบางแห่งถูกน้ำกัดเซาะจนกลางเป็นพื้นน้ำอาริสโตเติลถือว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง และมีความรู้ความสามารถที่สุดคนหนึ่งก็ว่าได้ ถ้าหากเขาเป็นคนที่ศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ให้จริงจังกว่านี้ วงการวิทยาศาสตร์คงต้องค้นพบความลับทางธรรมชาติจากบุคคลผู้นี้เป็นแน่ อาริสโตเติลใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษา บันทึกและรวบรวมความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้คนทั่วไปได้ศึกษา ในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงถูกปลงพระชนม์ที่บาบิโลเนีย อาริสโตเติลเกรงว่าอาจจะถูกทำร้ายจากกลุ่มคนที่ไม่ชอบพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งรวมถึงไม่ชอบอาริสโตเติลด้วย เขาจึงเดินทางออกจากกรุงเอเธนส์ไปอยู่ที่เมืองคาลซิส (Chalcis) และอยู่ที่เมืองนี้จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 322 ก่อนคริสต์ศักราช


ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

  • เกิด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)ผลงาน - ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต - เขียนหนังสือชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากการเดินทางสำรวจดินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิกของดาร์วิน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ ลักษณะสัตว์ และพืช รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ คือ การที่มนุษย์ได้ล่วงรู้ความลับทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการทั้ง ของสัตว์ และของพืช รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยดาร์วินกล่าวว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากลิง ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับมาจนทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าหากการเดินทางสำรวจโลกครั้งนั้นขาดนักธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่นามว่า ชาร์ล ดาร์วิน สาธารณชนอาจจะไม่มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวมหัศจรรย์เหล่านี้ได้เลย ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ(England) ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงมากที่สุดครอบครัวหนึ่งของอังกฤษบิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์เช่นเดียวกันแต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่น ยิงนก ตกปลา ไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆเพื่อการสะสม และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พฤติกรรมของดาร์วินสร้างความหนักใจให้กับบิดาของเขาอย่างมาก เนื่องจากเกรงว่าดาร์วินจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูลได้ ดังนั้นบิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์จนได้ ในปี ค.ศ. 1825 พ่อของดาร์วินได้ส่งเขาไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) พร้อมกับพี่ชายของเขา ดาร์วินต้องเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กอย่างเบื่อหน่าย ในระหว่างที่เขานั่นฟังบรรยายก็มักจะนั่งหลับไม่ก็เหม่อลอยมองออกไปนอกหน้าต่าง อีกทั้งเขายังกลัวการผ่าตัดศพอย่างมากอีกด้วย ทำให้ดาร์วินเรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้นก็ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อดาร์วินลาออกจากมหาวิทยาลัยเขาก็ออกเที่ยวเตร่และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการยิงนกตกปลา พ่อของดาร์วินรู้สึกเป็นห่วงลูกชายคนนี้มากเกรงว่าต่อไปภายหน้าจะลำบาก เพราะไม่มีความรู้พอที่จะประกอบอาชีพได้ ดังนั้นพ่อจึงส่งดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งดาร์วินก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ก่อนที่จะเรียนศาสนานั้นต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเสียก่อน การ์วินจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแหงนี้ เขาได้มีโอกาสเขาฟังการบรรยายวิชาธรรมชาติอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งดาร์วินยังได้ศึกษาหาความรู้ด้านนี้จากตำรา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน คือศาสตราจารย์เฮนสโลว์ (P.Henslow) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์เซดจ์วิค (P.Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยาทั้งสองได้พาดาร์วินออกสำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งดาร์วินก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดีดาร์วินสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1829 แต่ดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี และในระหว่างปีนี้เองทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ แต่ก่อนจะออกเดินทางกัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีผู้ใดสนใจเพราะนักธรรมชาติที่จะเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้เองทั้งหมดกัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหานักธรรมชาติวิทยาให้ศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน ซึ่งดาร์วินรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสออกสำรวจดินแดนที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยสำรวจมาก่อน อีกทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย เมื่อดาร์วินไปขออนุญาตด้วยความที่เป็นห่วงลูกชาย พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทางในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ดาร์วินรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังเพื่อเป็นการปรับทุกข์ ลุงสงสารเขามากจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้ เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาโดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ เป็นหมู่เกาะแรกซึ่งห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 ไมล์ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิล ที่เมืองเรซิเฟ (Recife) ซัลวาดอร์ (Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแฟซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เข้าสำรวจประเทศซิลี (Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำเรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island)ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape)จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก (Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดวเลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน อีกทั้งอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่เคยท้อแท้ จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia) ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อนที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะถึง 14 เกาะ ในจำนวนนี้มี 5 เกาะ เป็นเกาะขนาดใหญ่ซึ่งเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวมากถึง 45 ไมล์จากการสำรวจดาร์วินพบว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากหินลาวาของภูเขาไฟซึ่งบนเกาะแต่ละเกาะจะมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 3,000 - 4,000 ฟุต สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะกาลาปาโกลแห้งแล้งและกันดาร อีกทั้งมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษอาศัยอยู่ทั่วไปได้แก่ เต่าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 ปอนด์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระดองยาวประมาณ 7 ฟุต และมีอายุมากประมาณ 300 - 400 ปี ซึ่งเตาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่มาของชื่อเกาะกาลาปาโกส เพราะในภาษาสเปนกาลาปาโกสแปลว่าเต่ายักษ์ อีกอย่างหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับดาร์วิน คือ กิ้งก่ายักษ์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งมีขนาดลำตัวยาถึง 4 ฟุต ส่วนพืชบนเกาะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ส่วนไม่ยืนต้นก็มีอยู่บ้างและจำนวนน้อย การเดินทางของดาร์วินยังพบกับสิ่งแปลกประหลาดจำนวนมาก ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นให้กับดาร์วินแทบทั้งนั้น ดาร์วินได้จดบันทึกทุกเรื่องในการเดินทางครั้งนี้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ สภาพภูมิประเทศ อีกทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ ที่เขาได้พบทุกชนิด นอกจากนี้ดาร์วินยังได้เก็บซากพืช ซากสัตว์ เช่น แมลง เปลือกหอย และหิน ไว้เป็นจำนวนมาก บางส่วนดาร์วินได้ส่งมาเก็บไว้ที่บ้านพักในประเทศอังกฤษทางพัสดุไปรษณีย์ แต่บางชิ้นมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บมาได้ ดาร์วินจะวาดภาพไว้อย่างละเอียด โดยภาพที่เขาวาดจะมีสัดส่วนเหมือนจริงทุกประการ และเมืองดาร์วินเดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวาเขาได้พบกับพืชเขตร้อนเช่นเดียวกับที่พบที่เมืองปราเวีย คือ กล้วยหอม และมะพร้าว นอกจากนี้ดาร์วินยังได้พบกับแมลงปีกแข็งและเขาสามารถรวบรวพันธ์ของแมงมุมบนเกาะแห่งนี้ได้ถึง 13 พันธ์ นอกจากนี้แล้ว ดาร์วินยังได้พบกับนก และสัตว์แปลก ๆอีกหลายชนิด เรือบีเกิ้ลใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันนี้ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล และจากผลงานชิ้นนี้ ดาร์วินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม (Geological Society) ในปี ค.ศ. 1838 และต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ดาร์วินได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลเคนท์ (Kent) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน ในระหว่างที่เขาพำนักอยู่ที่นี่ดาร์วินได้ทำการศึกษาค้นคึว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่ม ชื่อว่า The Structure and Distribution of Coral Reef ต่อมาอีก 2 ปี ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่มชื่อว่าGeological Observations of South America และในปี ค.ศ. 1846 ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่ม ชื่อว่าGeological Observation on Volcanic Island หนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของดาร์วินในการสำรวจโลกกับเรือบีเกิ้ล หลังจากนั้นดาร์วินมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพรียง ซึ่งเขาเก็บมาจากชายฝั่งประเทศซิลี เมื่อครั้งที่เขาเดินทางนั่นเอง ดาร์วินได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเพรียงอย่างละเอียด โดยการผ่าตัดดูเพรียงทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตจากการศึกษาเพรียงดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเพรียงถึง 4 เล่ม จากเรื่องเพรียง ดาร์วินได้หันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยเขามีแรงบันดาลใจมาจากซากฟอสซิล (Fossil) ดาร์วินใช้เวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้นานกว่า 20 ปี เขารวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตดาร์วินศึกษาสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งคนม้า สุนัข และลิง เป็นต้น จากการ้นคว้าเขาสามารถสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการได้ว่าสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งมีชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งด้วย ซึ่งมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ คือเมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องปรับสภาพให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเพื่อชีวิตที่จะคงอยู่ต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนานจะเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางร่างกายและลักษณะนิสัย การวิวัฒนาการเช่นนี้ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)" นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ว่ามาจากลิง เมื่อหนังสือของดาร์วินได้รับการเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากพวกเคร่งศาสนาอย่างหนัก บางคนถึงกับว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกรีต แม้แต่กัปตันเรือบีเกิ้ลซึ่งทั้งสองเคยร่วมเดินทางสำรวจด้วยกันเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก็ได้ว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงเช่นกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าสร้างมา ซึ่งมีรูปแบบเช่นนี้มาตั้งแต่แรก แต่ต่อมาไม่นานนักคนเหล่านี้ก็ให้การยอมรับทฤษฎีข้อนี้ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ออกมา ดาร์วินพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับธรรมชาติออกมาอีกหลายเล่ม ได้แก่ - ค.ศ. 1862 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Fertilization of Orchids - ค.ศ. 1868 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Variation of Animal and Plants under Domestication - ค.ศ. 1871 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Descent of Man and Selection in Relation to Sea - ค.ศ. 1872 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Expression of the Emotion in Man and Animal - ค.ศ. 1875 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Effect of Cross and Self - Fertilization in the Vegetable Kingdom - ค.ศ. 1877 พิมพ์หนังสือชื่อว่า Different Forms of Flower and Plant of The Same Species - ค.ศ. 1880 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Power of Movement in Plants - ค.ศ. 1881 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Formation of Vegetable Mould Through The Action of Worms ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ผลงานของดาร์วินที่เขาได้ถ่ายทอดลงในหนังสือของเขา ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา


อาร์คิมีดีส : Archimedes




  • เกิด 287 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)เสียชีวิต 212 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)ผลงาน - กฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) ที่กล่าวว่า "ปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในน้ำย่อมเท่ากับปริมาตร ของน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ" ซึ่งกฎข้อนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ - ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง ได้แก่ คานดีดคานงัด รอก ระหัดวิดน้ำ และล้อกับเพลา - อาวุธสงคราม ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน กระจกเว้ารวมแสง และเครื่องปล่อยท่อนไม้
    เมื่อเอ่ยชื่ออาร์คิมีดีส ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักนามของนักวิทยาศาสตร์เอกผู้นี้ โดยเฉพาะกฎเกี่ยวกับการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ หรือการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมงกุฎทองของกษัตริย์เฮียโร (King Hiero) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ และการค้นพบของเขาในเรื่องอื่น เช่น ระหัดวิดน้ำ คานดีดคานงัด ล้อกับเพลา เป็นต้น อาร์คิมีดีสขึ้นชื่อว่าเป็นบิดา แห่งกลศาสตร์ที่แท้จริงเนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของเขามักจะเป็นเครื่องผ่อนแรงที่มีประโยชน์และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ อาร์คิมีดีสเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก เกิดที่ เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) บนเกาะซิซิลี (Sicily) เมื่อประมาณ 287 ก่อนคริสต์ศักราชบิดาของเขาเป็นนักดาราศาสตร์ชื่อ ไฟดาส (Pheidias) อาร์คิมีดีสมีความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก เขาจึงเดินทางไปศึกษาวิชาคณิตศาสตร์กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์นามว่า ซีนอนแห่งซามอส ซึ่งก็เป็นลูกศิษย์คนเก่งของนักปราชญ์เลื่องชื่อลือนามว่า ยูคลิด (Euclid) ที่เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางแห่งวิชาการของกรีกในสมัยนั้น หลังจากที่อาร์คิมีดีส จบการศึกษาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของพระเจ้าเฮียโร งานชิ้นเอกที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือกฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) หรือ วิธีการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ (SpecificGravity) ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นจากกษัตริย์เฮียโรทรงมีรับสั่งให้ช่างทำมงกุฎทองคำ โดยมอบทองคำให้ช่างทองจำนวนหนึ่ง เมื่อช่างทองนำมงกุฎมาถวาย ทรงเกิดความระแวงในท่าทางของช่างทำทองว่าจะยักยอกทองคำไป และนำโลหะชนิดอื่นมาผสม แต่ทรงไม่สามารถหาวิธีพิสูจน์ได้ ดังนั้นจึงทรงมอบหมายหน้าที่ การค้นหาข้อเท็จจริงให้กับอาร์คิมีดีส ขั้นแรกอาร์คิมีดีสได้นำมงกุฎทองไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าน้ำหนักของมงกุฎเท่ากับทองที่กษัตริย์เฮียโรได้มอบให้ไป ซึ่งช่างทองอาจจะนำโลหะชนิดอื่นมาผสมลงไปได้ อาร์คิมีดีสครุ่นคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกสักที จนวันหนึ่งเขาไปอาบน้ำที่อ่างอาบน้ำสาธารณะแห่งหนึ่ง ขณะที่น้ำในอ่างเต็ม อาร์คิมีดีสลงแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ น้ำก็ล้นออกมาจากอ่างนั้น เมื่อเขาเห็นเช่นนั้นทำให้เขารู้วิธีพิสูจน์น้ำหนักของทองได้สำเร็จ ด้วยความดีใจเขาจึง รีบวิ่งกลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้สวมเสื้อผ้า ปากก็ร้องไปว่า "ยูเรก้า! ยูเรด้า! (Eureka)" จนกระทั่งถึงบ้าน เมื่อถึงบ้านเขารีบนำมงกุฎมาผูกเชือกแล้วหย่อนลงในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่เต็ม แล้วรองน้ำที่ล้นออกมาจากอ่าง จากนั้นจึงนำทองในปริมาตรที่เท่ากันกับมงกุฎหย่อน ลงในอ่างน้ำ แล้วทำเช่นเดียวกับครั้งแรก จากนั้นเขาได้นำเงินในปริมาตรที่เท่ากับมงกุฎ มาทำเช่นเดียวกับมงกุฎและทอง ผลการทดสอบปรากฏว่า ปริมาตรน้ำที่ล้นออกมานั้น เงินมีปริมาตรน้ำมากที่สุด มงกุฎรองลงมา และทองน้อยที่สุด ซึ่งจากผลการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ช่างทองนำเงินมาผสมเพื่อทำมงกุฎแน่นอนมิฉะนั้นแล้วปริมาตรน้ำของมงกุฎและทองต้องเท่ากัน เพราะเป็นโลหะชนิดเดียวกัน อาร์คิมีดีสได้นำความขึ้นกราบทูลกษัตริย์เฮียโรให้ ทรงทราบ อีกทั้งแสดงการทดลองให้ชมต่อหน้าพระพักตร์ เมื่อช่างทองเห็นดังนั้นก็รีบรับสารภาพแล้วนำทองมาคืนให้กับกษัตริย์เฮียโรการค้นพบครั้งนี้ของอาร์คิมีดีส ได้ตั้งเป็นกฎชื่อว่ากฎของอาร์คิมีดีส ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำหลักการเช่นเดียวกันนี้มาหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุต่าง ๆ อาร์คิมีดีสไม่เพียงแต่พบวิธีหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุได้เท่านั้น งานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือ การสร้างระหัดวิดน้ำ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระหัดเกลียวของอาร์คิมีดีส (Archimedes Screw)" เพื่อใช้สำหรับวิดน้ำขึ้นมาจากบ่อหรือแม่น้ำ สำหรับใช้ใน การอุปโภคหรือบริโภค ซึ่งทำให้เสียแรงและเวลาน้อยลงไปอย่างมาก การที่อาร์คิมีดีสคิดสร้างระหัดวิดน้ำขึ้นมานั้น ก็เพราะเขาเห็นความลำบากของชาวเมืองในการนำน้ำขึ้นจากบ่อหรือแม่น้ำมาใช้ ซึ่งต้องใช้แรงและเสียเวลาอย่างมาก ระหัดวิดน้ำของอาร์คิมีดีสประกอบ ไปด้วยท่อทรงกระบอกขนาดใหญ่ภายในเป็นแกนระหัด มีลักษณะคล้ายกับดอกสว่าน เมื่อต้องการใช้น้ำ ก็หมุนที่ด้ามจับระหัดน้ำก็จะไหลขึ้นมาตามเกลียวระหัดนั้น ซึ่งต่อมามีผู้ดัดแปลงนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การลำเลียงถ่านหินเข้าสู่เตา และนำเถ้าออกจากเตา การบดเนื้อสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงขึ้นอีกหลายชิ้น เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชาวเมือง ได้แก่ คานดีดคานงัด (Law of Lever) ใช้สำหรับในการยกของที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ใช้ไม้คานยาวอันหนึ่ง และหาจุดรองรับคานหรือจุดฟัลครัม (Fulcrum) ซึ่งเมื่อวางของบนปลายไม้ด้านหนึ่ง และออกแรงกดปลายอีกด้านหนึ่ง ก็จะสามารถยกของ ที่มีน้ำหนักมากได้อย่างสบาย นอกจากคานดีดคานงัดแล้ว อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์รอก ซึ่งเป็นเครื่องกลสำหรับยกของหนักอีกชนิดหนึ่ง เครื่องกลผ่อนแรงทั้งสองชนิดนี้ อาร์คิมีดีสคิดค้นเพื่อกะลาสีเรือหลวงที่ต้องยกของหนักเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส มีอีกหลายอย่าง ได้แก่ รอกพวง ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับรอกและล้อกับเพลา ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก เช่น ก้อนหิน เป็นต้น เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีสถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชากลศาสตร์ และยังเป็นที่นิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งได้มีการนำเครื่องกลผ่อนแรงเหล่านี้มาเป็นต้นแบบเครื่องกลที่สำคัญในปัจจุบัน เช่น ล้อกับเพลา มาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนของรถยนต์ เป็นต้น อาร์คิมีดีสไม่ได้เพียงแต่สร้างเครื่องกลผ่อนแรงเท่านั้น เขายังมีความชำนาญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เขาสามารถคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอกได้ โดยใช้สูตรทางคณิตศษสตร์ที่เขาเป็นคนคิดค้นขึ้น และหาค่าของ p ซึ่งใช้ในการหาพื้นที่ของวงกลม ในปี 212 ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพโรมันยกทัพเข้าตีเมืองไซราคิวส์ โดยยกทัพเรือมาปิดล้อมเกาะไซราคิวส์ไว้ อาร์คิมีดีสมีฐานะนักปราชญ์ประจำราชสำนัก จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพบัญชาการรบป้องกัน บ้านเมืองครั้งนี้ อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์อาวุธขึ้นหลายชิ้นในการต่อสู้ครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน โดยอาศัยหลักการ ของคานดีดคานงัด เครื่องเหวี่ยงหินของอาร์คิมีดีสสามารถเหวี่ยงก้อนหินข้ามกำแพงไปถูกเรือของกองทัพโรมันเสียหายไปหลายลำ อาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ อาร์คิมีดีสประดิษฐ์ขึ้น คือ โลหะขัดเงามีลักษณะคล้ายกระจกเว้าสะท้อนแสงให้มีจุดรวมความร้อนที่สามารถทำให้เรือของกองทัพโรมัน ไหม้ไฟได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องกลอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับตอรืปิโดในปัจจุบัน เรียกว่า "เครื่องกลส่งท่อนไม้" ซึ่งใช้ส่งท่อนไม้ขนาดใหญ่ด้วยกำลังแรงให้แล่นไปในน้ำ เพื่อทำลายเรือข้าศึก กองทัพโรมันใช้เวลานานถึง 3 ปี กว่าจะยึดเมืองไซราคิวส์ได้สำเร็จ แต่มิได้แพ้เพราะกำลังหรือสติปัญญา แต่แพ้เนื่องจากความประมาท ด้วยในขณะนั้นภายในเมืองไซราคิวส์กำลังเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน เมื่อตีเมืองไซราคิวส์สำเร็จ แม่ทัพโรมัน มาร์เซลลัส (Marcellus) ได้สั่ง ให้ทหารนำตัวอาร์คิมีดีสไปพบเนื่องจากชื่นชมในความสามารถของอาร์คิมีดีสเป็นอย่างมาก ในขณะที่ตามหาอาร์คิมีดีส ทหารได้พบกับอาร์คิมีดีสกำลังใช้ปลายไม้ขีดเขียนบางอย่างอยู่บนพื้นทราย แต่ทหารผู้นั้นไม่รู้จักอาร์คิมีดีส เมื่อทหารเข้าไปถามหาอาร์คิมีดีสเขากลับตวาด ทำให้ทะเลาะวิวาทกัน ทหารผู้นั้นใช้ดาบแทงอาร์คิมีดีสจนเสียชีวิต เมื่ออาร์เซลลัสทราบเรื่องก็เสียใจเป็นอย่างมากที่ต้องสูญเสียนักปราชญ์ที่มีความสามารถ อย่างอาร์คิมีดีสไป ดังนั้นเขาจึงรับอุปการะครอบครัวของอาร์คิมีดีสและสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อให้ระลึกถึงความสามารถของอาร์คิมีดีส อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะรูปทรงกลมอยู่ในทรงกระบอก จากผลงานการประดิษฐ์เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลทั้งในอดีตและปัจจุบัน

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein


เกิด วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory) - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921
ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์ ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพมาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียน ในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่เขาเกลียดที่สุดทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาให้ไอน์สไตน์ โดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่นยกเว้นวิชาดนตรี และเรียนวิชาอื่นได้แย่มาก แม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีมาก เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ ต่อมาไอน์สไตน์อายุ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเขาแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่งทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy)แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ แต่ด้วยความที่เขาคิดถึงครอบครัวมาก หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผนให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี เมื่อเป็นเช่นนั้นไอน์สไตน์จึงเดินทางไปหาครอบครัวที่มิลาน แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเขาได้ขอใบรับรองทางการศึกษา เพื่อสะดวกในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอื่น ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ เขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่วิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขาไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อวิทยาลัยโปลีเทคนิคได้โดยไม่ต้องสอบ หลังจากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ และไม่จำกัดมากจนเกินไป แนวการสอนเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนยังดีมากดีด้วย เพราะได้มีการจัดห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ทำให้ไอน์สไตน์ไม่รู้สึกว่ามีปมด้อยที่เป็นชาวยิวอีกต่อไป หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้าจากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียนที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบวิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่มากนัก แต่รายได้ปีละ 250 ปอนด์ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่อีกด้วย ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของเช่นกัน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย E (Energy) = พลังงาน m (mass) = มวลสารของวัตถุ c = ความเร็วแสง ทฤษฎีสัมพัทธภาพต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง พลังงานปรมาณู เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันทีทั้งนี้เขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาครั้งหนึ่งแล้ว ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็นศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการได้สนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัยที่สนุกสนานเป็นกันเอง ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน และอีก 2 ปีต่อมา ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้ ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ทุกหนทุกแห่งวุ่นวาย โดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (GeneralTheory of Relativity) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายต่างก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้ อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวนทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็ว ทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า"สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่ เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับความทุกข์ทางใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อสงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดินทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนี และถูกสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 1,000,000 คน สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลีได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทำการทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่ม และควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูก นี้ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เพียงเท่านี้ ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์ รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา


พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • ในทัศนะของชาวต่างประเทศต่างก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ทั้งๆที่ยอมรับโดยสนิทใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงสามารถคำนวณและประกาศอย่างเป็นทางการไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะมีสุริยุปราคาหมดดวงเห็นได้ในประเทศไทยและกำหนดสถานที่ ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ริมฝั่งทะเลตรงข้ามเกาะจานไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้าด้วย สำหรับฝรั่งเศส-เดิมเลือกที่ช่องแคบมะละกา ต่อมาให้เปลี่ยนอีกตามคำแนะนำของกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยว่า ควรเป็นชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งทางฝรั่งเศสเองก็พยายามเที่ยวค้นหาที่จะดูหลายตำบล ตั้งแต่เมืองชุมพรขึ้นมาจนถึงเมืองปราณบุรีก็หาไม่ได้ ในที่สุดคณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสก็ขอพระบรมราชานุญาตมาตั้งโรงที่จะดูสุริยุปราคาในบริเวณค่ายหลวงตำบลหว้ากอ ต่ำลงไปทางใต้พลับพลาค่ายหลวงประมาณ 18 เส้น จึงประสบความสำเร็จด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้
    การเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนสิงหาคม 2411 นั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ 1.ในห้วงเวลานั้นเป็นฤดูฝน พื้นภูมิประเทศเป็นป่าเขามีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางก็ลำบากและต้องฟันฝ่าอันตรายมากเหตุใดจึงทรงมีพระราชอุตสาหะแรงกล้าถึงเพียงนั้น ก็เป็นเพราะว่าสุริยุปราคาที่จะเห็นได้หมดวงในประเทศไทยนี้ยังไม่เคยมีมาแต่ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบเป็นพระองค์แรกในประเทศหรือในโลกก็ได้ว่า จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยได้ทรงคำนวณสอบสวนกับตำราสารัมภ์ ไทย มอญ และของอังกฤษอเมริกันแล้วเป็นที่แน่ชัดจึงได้ทรงประกาศเป็นทางการล่วงหน้าก่อนถึง 2 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์มิได้ทรงเกรงความยากลำบากและอันตรายใดๆที่จะเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเพื่อทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เอง 2. การเตรียมสถานที่และเตรียมการด้านต่างๆนับเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงถึงความละเอียดรอบครอบและการที่ทรงมีวิจารณญาณ เห็นการณ์ไกลเกี่ยวกับเกียรติภูมิและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้เป็นแม่กองไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรม ณ ตำบลหว้ากอ ตรงหน้าเกาะจานเข้าไปห่างจากคลองวาฬลงไปทางใต้ประมาณ 24 เส้น โดยให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายทำการก่อสร้างค่ายหลวงพลับพลาที่ประทับและทำเนียบรับรองแขกเมือง สถานที่บริเวณก่อสร้างอยู่ริมหาด ซึ่งเป็นป่าไม้อยู่ก่อนแล้วมาแผ้วโก่นโค่นสร้างในคราวนี้ แล้วปลูกพลับพลาและทำเนียบเป็นอันมากสำหรับข้าราชการต่างๆในราชสำนักและแขกเมืองชาวยุโรปพักอาศัย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประทับในค่ายหลวงตำหนักที่ประทับทำด้วยไม้ชั่วคราว เป็นตำหนัก 3 ชั้นทำเนียบแห่งอื่นปลูกเป็นเรือนชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 3 ฟุตทุกหลังทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้างใบตาลแห้งบ้าง ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อย ล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็น และในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้ และบริวารเป็นอันมาก ท้องพระโรงยาวประมาณ 80 ฟุต กว้าง 80 ฟุต อยู่ด้านตะวันออกของพลับพลาที่ประทับแรม มีพระทวารสองข้าง กับทั้งมีพระทวารที่ตรงกลางทางด้านยาว ซึ่งเป็นทางที่เข้าไปได้อีกช่วงหนึ่ง ที่ประทับยกพื้นสูงราว 3 ฟุต อยู่ใกล้ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้าไปข้างในพลับพลาที่ยกพื้นกับรั้วลูกกรงทั้งเสาและผนังห้องท้องพระโรงดาดด้วยผ้าสีแดง มีพระเก้าอี้ตั้งอยู่บนราชบัลลังก์มีโต๊ะเล็กอยู่ทางขวา เต็มไปด้วยหีบทองและภาชนะบรรจุพระศรีพระโอสถ พระสุธารสและสิ่งของเครื่องราชูปโภคต่างๆ ทางในระหว่างพระทวาร และที่ประทับกันไว้เป็นช่องระหว่างสำหรับแขกเมืองเฝ้า และลองข้างช่วงนี้ในระยะประมาณครึ่งทาง เป็นที่ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้า ทำเนียบของแขกฝรั่งยาวประมาณ 140 ฟุต กว้าง 50 ฟุต เป็น 2 หลังโดด หลังใหญ่มีห้องโถงอยู่กับพื้น สามารถจุคนในเวลาเลี้ยงได้ 40-50 คน และสองข้างยกพื้นสูงประมาณ 3 ฟุต ทำเป็นห้องเล็กๆเป็นแถวรวม 12 ห้อง สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพวกผู้ว่าราชการ มุมสุดเป็นสถานที่เล็กๆหลังหนึ่ง มีห้องนอน 2 ห้อง ห้องแต่งตัว 2 ห้อง มีระเบียงเป็นห้องนั่งเล่น สำหรับ แขกได้สบาย เรือนตอนนี้ตีฝาและยกพื้นด้วยไม้จริง นอกนั้นทำด้วยไม้ไผ่ซีกทั้งสิ้น ด้านอาหาร มีผู้ว่าราชการ พระฤาษีสมบัติบริบูรณ์กับพ่อครัวจีน และข้าราชการรับหน้าที่จัดดูแลเรื่องอาหารเลี้ยงแขกเมืองและแขกฝรั่งทั้งหมดที่อยู่ในกรุงเทพ และที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับเชิญไปดูสุริยุปราคา และโปรพระราชทานเลี้ยงอาหารฝรั่งตลอด โดยพ่อครัวฝรั่งเศสพร้อมด้วยชาวอิตาลี 1 คน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน การเลี้ยงดู ก็จัดอย่างบริบูรณ์และประณีต บรรดาของอร่อยที่จะสามารถหามาได้จากประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ กรุงเทพรวมทั้งเหล้า และเหล้าองุ่นต่างๆ น้ำแข็งก็มีบริบูรณ์ แขกฝรั่งพากันกล่าวว่า นับเป็นที่พักอาศัยอันอุดมที่สุดในป่าแห่งประเทศสยามทีเดียว 3. เครื่องมือและกล้องส่องดูดาว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมอร์ซิเออร์ สเตฟาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งเครื่องดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ มีความเห็นว่า กล้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีคุณภาพดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าวิเศษสำหรับประเทศสยาม พระองค์ทรงสนพระทัยยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ และพระองค์ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงรอบรู้วิชาวิทยาศาสตร์ลึกซึ้งเพียงใด แต่ พระองค์ ทรงถ่อมพระองค์มาก การเสด็จมาหว้ากอครั้งนี้ก็เพราะแรงผลักดันที่จะได้ทรงพิสูจน์การศึกษาแนวทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์เป็นประการหนึ่ง 4. การที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญ เซอร์ แฮรี่ ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษซึ่งประจำอยู่ ณ เมืองสิงคโปร์ และภริยามาเป็นอาคันตุกะส่วนพระองค์ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส เข้ามาตั้งกล้องส่องดูดาวร่วมด้วยได้ที่ตำบลหว้ากอ โดยมีเครื่องกล้องใหญ่น้อยหลายอย่างที่ทันสมัย ประมาณ 50 อันเศษ นับเป็นวิเทโศบายอันชาญฉลาดที่ได้ทรงสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรียิ่งโดยเฉพาะได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนบธรรมเนียมเก่าที่ฝรั่งเห็นว่าเป็นเครื่องถ่วงความเจริญ ซึ่ง เซอร์ แฮรี่ ออด มีข้อสังเกตว่าในพระราชสำนักได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มิเคยปรากฏมาแต่ก่อนเช่น การเปิดพระราชมนเทียรพระราชทานให้แขกเมืองเข้าไปได้ไม่หวงห้าม โปรดให้พบปะกับฝ่ายในให้ออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายในราชสกุลที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองได้อย่างฉันมิตรสนิทสนม พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์ สมาคมกับแขกเมืองอย่าง ยอมให้อิสระเท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งฝรั่งเห็นว่าเป็นประเทศหนึ่ง ในชนชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เหตุการณ์ที่ฝรั่งได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองนี้ ทำให้ชาวฝรั่งเกิดความประทับใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยมีทางจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีนโยบายปิดประตู และมีการสมาคมกับชาวฝรั่งอย่างมีเกียรติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงศึกษาเครื่องมือและกล้องส่องดูดาว ตลอดจนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยของอังกฤษ และฝรั่งเศสพร้อมกันไป นับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนา วิชาวิทยาศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปด้วย คณะกรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เพียรพยายามที่จะหาหลักฐานต่าง ๆ เพื่อจะชี้ให้เห็นชัดเป็นข้อยุติ ว่า ณ ที่ใดที่บ้านหว้ากอ (ในปัจจุบันนี้) เป็นที่ตั้งค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรมที่ทรงกล้องทอดพระเนตรสุริยุปราคาจึงได้ ออกกันไปศึกษาสภาพพื้นที่ 2-3 ครั้ง ครั้งหลังเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2524 คณะที่ออกไปสำรวจร่วมกับทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เท่าที่จำได้มี ดร. ระวี ภาวิไล ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา ดร. ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ ดร. ขาว เหมือนวงศ์ ดร. ธีระชัย ปูรณโชติ คุณระรินทิพย์ ทรรทานนท์ ทางจังหวัดประจวบ ฯ ก็มี ข้าพเจ้าผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษา ธิการจังหวัดนายอำเภอเมือง เป็นต้น ดังปรากฏในภาพ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศประกอบ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ชัดเจนนัก เพราะยังหาหลักฐานสำคัญ ๆ ไม่พบ แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าเป็นบริเวณนั้น ๆ ซึ่งก็ใกล้เคียงมาก และทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเรื่องหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการสร้างสวนสาธารณะ หรือสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ รวมในที่เดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปลายปี 2525 นี้